การรักษาอุณหภูมิกายให้คงที่อยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียสคือการรักษาสมดุล กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ผลิตความร้อนซึ่งระบายออกทางผิวหนัง แต่ร่างกายดูดซับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมด้วย สภาพภูมิอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ประชากรโลกเกือบหนึ่งในสามเสี่ยงต่อความร้อนที่ทำให้ถึงตายได้

ระบบระบายความร้อน ร่างกายถ่ายเทความร้อนให้ทุกสิ่งที่สัมผัส รวมทั้งเสื้อผ้า และอากาศโดยรอบ ความร้อนที่แผ่ออกจากผิวหนังและเหงื่อที่ระเหยออกมาจะช่วยทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เย็นลง

1.ตรวจพบภาวะเครียดจากความร้อน ตัวรับที่ผิวหนังและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรับรู้ว่า บุคคลนั้นเริ่มมีอุณหภูมิสูงเกินไป สภาพภูมิอากาศระดับการทำกิจกรรม และเสื้อผ้า อาจส่งผลต่ออุณหภูมิกายได้ทั้งหมด

2.ตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงาน ไฮโปทาลามัสในสมองส่งสัญญาณไปยังต่อมเหงื่อที่ผิวหนังให้ขับเหงื่อออกมา ซึ้งมากถึงชั่วโมงละ 1.4 กิโลกรัม ต่อมเหงื่อเพียงร้อยละห้าจากทั้งหมด 2.5 ล้านต่อมในร่างกายทำงานในเวลาใดเวลาหนึ่ง

3.เลือดเร่งไหลไปที่ผิวหนัง หลอดเลือดขยายตัวเพื่อส่งเลือดไปยังหลอดเลือดฝอย ที่ผิวหนังมากขึ้น “การขยายหลอดเลือด” นี้นำความร้อน จากภายในร่างกายออกไปสู่พื้นผิวเพื่อแผ่กระจายออกไป

4.เลือดและเหงื่อทำให้ร่างกายเย็นลง เลือดและเหงื่อกำจัดความร้อนส่วนเกินส่วนใหญ่ของร่างกายออกไปทางผิวหนัง ลมหายใจกำจัดที่เหลือ ส่วนใหญ่ เหงื่อจะเย็นลงเมื่อระเหยไป ซึ่งอาจแทบเป็นไปไม่ใด้เลยในบริเวณที่มีความชื้นสูง

เมื่อเกิดความผิดปกติ
ยิ่งเลือดและของเหลวถูกส่งไปที่ผิวหนังนานเท่าไร อวัยวะภายในก็ยิ่งทำงานหนักมากเท่านั้น ในความร้อนสุดขั้วความเครียดอาจพัฒนาไปสู่ความอ่อนล้า และเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นำไปสู่ความตายในที่สุด

การหมดแรงเพราะร้อน
อาการคลื่นไส้ เหนื่อยล้า ตะคริว ผื่น และเวียนศีรษะ เป็นสัญญาณที่ร่างกายส่งไปยังสมองเพื่อให้ลดกิจกรรมและพักให้เย็นลง อาการเหล่านี้อาจกำเริบจนกลายเป็นโรคลมเหตุร้อน

การหมดแรงเพราะร้อน
อาการคลื่นไส้ เหนื่อยล้า ตะคริว ผื่น และเวียนศีรษะ เป็นสัญญาณที่ร่างกายส่งไปยังสมองเพื่อให้ลดกิจกรรมและพักให้เย็นลง อาการเหล่านี้อาจกำเริบจนกลายเป็นโรคลมเหตุร้อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *