การคาดการณ์อันน่าพรั่นพรึงเมื่อปี 1970 ส่งผลให้เกิดการลงมือทำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นในหลายทาง ตอนนี้พวกเรากำลังถูกทดสอบอีกครั้ง
ชาร์ลศ์ ซี.แมนน์ กล่าว ผมไปร่วมชุมนุมในวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ครั้งแรกเมื่อปี 1970 บรรยากาศตอนนั้นทั้งรื่นเริงและเคร่งขรึม รื่นเริงเพราะเรามาร่วมกันเฉลิมฉลองโลกธรรมชาติรอบตัวเป็นครั้งแรกในสหรัฐอมริกา เคร่งขรีมเพราะมีคำพยากรณ์ร้ายแรงเกี่ยวกับชะตากรรมที่จะเกิดกับโลกธรรมชาตินั้นเราได้ยินคำเตือนดังกล่าวทุกหนแห่งในเวลานั้น จอร์จวอลด์ นักชีวเคมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล อธิบายกับผู้ฟังว่า หากไม่ลงมือแก้ปัญหาโดยทันที อารยธรรมจะส่มสลายภายใน 15 หรือ 30 ปี ขณะที่พอล อีวิลิค นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด และผู้เขียนหนังสือ The Population Bomb

ชี้ว่า การทำนายทำนองนั้นถือว่ายังหวังมากไป ในบทสัมภาษณ์ตีพิมพ์ในวาระวันคุ้มครองโลก อีร์ลิคเสนอว่าโลกมีเวลาเพียงสองปีที่จะกลับตัว ก่อนที่ “ความพยายามต่อไป (ที่จะกู้โลก]หลังจากนั้นจะไร้ประโยชน์” ซึ่งก็ยังถือว่ามองโลกในแง่ดีเกินไปอยู่ดีตามความเชื่อของเดนิส เฮย์ส ผู้ประสานงานวันคุ้มครองโลกของสหรัฐฯ สถานการณ์โลกในตอนนั้น เข้าขั้น หายนะ ในช่วงวันคุ้มครองโลกครั้งแรกผู้คนราวหนึ่งในสี่ของโลกต้องอยู่อย่าง อดอยากหิวโหย ผู้คนราวครึ่งหนึ่งมีชีวิตอยู่อย่างยากจนข้นแค้น อายุขัยเฉลี่ย ในแอฟริกาอยู่แค่เพียง 45.6 ปี ประชากรราวครึ่งหนึ่งในลาตินอเมริกาและ แคริบเบียนไม่มีไฟฟ้าและไม่สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ทุพภิกขภัยในแอฟริกาตะวันตกเพิงคร่าชีวิตผู้คนไปราวหนึ่งล้านคน สงคราม การปฏิวัติ และการก่อการร้ายกำลังลุกลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เริ่มจากเอเชียก็กำลัง แพร่ระจายไปเกือบทั่วโลก และอาจคร่าชีวิตผู้คนถึงหนึ่งล้านคนก่อนจะสิ้นสุดลงอันที่จริง แนวโน้มทางสิ่งแวดล้อมดูยิ่งแย่กว่าด้วยซ้ำ ท่าเรือต่างๆ มีแต่ขยะเกลื่อนกล่น แม่น้ำสายใหญ่ของโลกเกือบทั้งหมดล้วนไม่สามารถใช้ดื่มได้น้ำมันเบนชินเจือสารตะกั่วปลดปล่อยไอพิษสู่อากาศในปริมาณมหาศาลจนเด็กวัยก่อนเข้าเรียนในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยมีสารตะกั่วในเลือดสูงกว่าสี่เท่าของระดับที่ ถ้าหากเป็นทุกวันนี้ต้องมีมาตรการเยียวยาอย่างเร่งด่วน เมืองต่างๆ มีควันพิษ ปกคลุมหนาแน่นไปหมด

ล่วงถึงวันคุ้มครองโลกครั้งแรก องค์กรนานาชาติที่เพิ่งก่อตั้งใหมในชื่อ คลับออฟโรม (Club of Rome) ได้เริ่มทำหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งจะกลายเป็น หนังสือทรงอิทธิพลอย่างน่าทึ่ง นั่นคือ The Limits to Growth ที่ตีพิมพ์ขึ้นมา แล้วใช้แบบจำลองตังกล่าวแสดงความต้องการใช้ทรัพยากรต่างๆ ในออกมาในปี 1972 ทีมทำหนังสือเล่มนี้ใช้ตอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองของโลกอนาคต เช่น ถ่านหินเหล็ก ก๊าซธรรมชาติ ภาพแล้วภาพเล่า หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นการพุ่งสู่จุดสูงสุดของการผลิตและอะลูมิเนียม ในแผนภูมิตามด้วยการตกต่ำพังพินาศ เมื่อโลกถูกชุดทรัพยากรไปใช้จนหมดเกลี้ยง ทีมงานย้ำเตือนว่า เพื่อหลีกเลี่ยงความพินาศ การพัฒนาแบบทะยานไปข้างหน้าของมนุษยชาติ จะต้องยุติลง โดยเร็วแต่โลกก็หาได้ลงเอยเช่นนั้น กลับกลายเป็นว่โลกทุกวันนี้แตกต่างจากที่ทำนายกันไว้แถมดีขึ้นด้วยซ้ำในหลายแง่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ส่งผลให้สุขภาวะทางกายของมนุษย์โดยเฉลี่ยดีขึ้นจากปี 1970 เรื่อยมาในเกือบ ตามข้อมูลจากสหประชาชาติ คนเพียงหนึ่งในเก้าทั่วโลกมีภาวะทุพโภชนาการ แม้ว่าพวกเราจะเพิ่มจำนวนเกินสองเท่าในช่วง 50 ปีทีผ่านมา โอกาลที่จะพบเด็กหิวโหยในยุคสมัยของเราต่ำกว่าช่วงเวลาใด ๆ ที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์