ชีวิตในมหาสมุทรของฉลามเรืองแสงแห่งน่านน้ำลึกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาชีวิตใต้ทะเลลึกนอกชายฝังนิวซีแลนด์ ระบุชนิดพันธุ์ฉลามสามสายพันธุ์ที่เรืองแสงในที่มืด ได้แก่ ฉลามโคมไฟท้องดำ ฉลามโคมไฟถิ่นใต้ และฉลามไคต์ฟิน(ขวา) พวกมันสร้างแสงสีน้ำเงิแถมเขียวด้วยเซลล์ชนิดพิเศษในผิวหนัง ฉลามไคต์ฟินซึ่งยาวอย่างน้อยสองเมตร เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่งที่เรืองแสงได้

การค้นพบดังกล่าวเป็นข้อเตือนใจว่า “เราจำเป็นต้องค้นพบและเข้าใจทะเลลึกและสัตว์ผู้อาศัยมากเพียงใด”ดิวา เอมอน นักชีววิทยาและนักสำรวจรุ่นใหม่ของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกกล่าว ทั้งยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรืองแสงในหมู่ฉลามทะเลลึกนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าฉลามเหล่านั้นสามารถซ่อนโครงร่างเงามืดของตัวเองจากสัตว์ผู้ล่าที่ซุ่มอยู่ในน้ำที่ลึกกว่าและมืดกว่าด้วยการเรืองแสงที่ท้อง หรือที่เรียกว่าการพรางตัวด้วยการเรืองแสง
ถอดหัวแล้วสร้างตัวใหม่ ทากทะเลสองชนิดสามารถสลัดหัวตัวเองและสร้างร่างกายใหม่พร้อมอวัยวะครบถ้วนในเวลาไม่ถึงเดือน นักวิจัยสันนิษฐานว่าทากทะเล Elysiamarginata และ Elysia atroviridisทำเช่นนั้นเพื่อกำจัดปรสิตที่อยู่ในร่างกาย

ต้องการต้นกล้าเพื่อบรรลุตามแผนปี 2030 สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นว่าจะช่วยโลก ปลูกและปกป้องต้นไม้หนึ่งล้านล้านต้นภายในปี 2030 แต่แผนดังกล่าวติดปัญหาตรงที่ไม่มีต้นกล้ามากพอ กล่าวคือต้องใช้ต้นกล้าอย่างน้อยสามพันล้านต้นต่อปีเพื่อปลูกในพื้นที่ที่จัดไว้ คิดเป็นการปลูกแบบก้าวกระโดดร้อยละ 130 และต้องใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการเก็บเมล็ดพันธ์ โครงสร้างพื้นฐานและอื่นๆ ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ยังต้องเฝ้าติดตามในระยะยาวเพื่อให้แนใจว่ารอดพันจากแรงกดดันต่างๆ เช่นศัตรูพืช โรค ความแห้งแล้งและไฟ การปลูกต้นไม้จำนวนมากขนาดนั้นและอนุรักษ์ต้นที่โตเต็มที่แล้ว จำเป็นต่อการนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อนออจาก
ชั้นบรรยากาศ
