ผุไปครึ่งตันซึ่งรับน้ำหนักเราได้อย่างน่าพิศวง ขณะเราผลัดกันเดินข้ามไป หลังจากปีนป่ายตลิ่งโคลน แล้วมาอยู่บนพื้นดินแข็งได้ในที่สุด เราผ่านกิโลเมตรสุดท้ายอย่างรวดเร็วจนกระทั่งพบต้นบราชิลนัตลำต้นใหญ่โตต้นหนึ่ง กิ่งก้านบนเรือนยอดสูงลิบลิ่วของต้นไม้ที่ได้รับความคุ้มครองชนิดนี้ เป็นจุดทำรังที่เหมาะสมสำหรับนกอินทรีฮาร์ปีในพื้นที่ศึกษาของมิแรนดา เรามองลอดเข้าไปในพุ่มใบหนาสูงขึ้นไปราว 30 เมตร ช่องเปิดเล็กๆเผยให้เห็นกิ่งไม้สุมกันเป็นกองใหญ่

แต่นอกเหนือจากขนเรียวยาวสีขาวเส้นเดียวที่มิแรนดาสังเกตเห็น เราไม่พบหลักฐานอื่นที่แสดงว่ารังมีนกอาศัยอยู่เมื่อเปิดเสียงร้องของนกอินทรียาร์ปีที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นเสียงแหลมดังเป็นชุดๆ ไม่มีเสียงตอบกลับมา มิแรนตาคาคว่าลูกนกที่เคยอาศัยอยู่ในรังนี้ตลอดเวลา ต้องเป็นนกวัยรุ่นที่กำลังเศรียมแยกตัวออกไป หลังจากใช้เวลาสามปีอยู่ในอาณาเขตของพ่อแม่นก ถ้าไม่ถูกรบกวน นกอินทรีซาร์ปีอาจใช้รังรังเดียวเป็นเวลาหลายสิบปี และมิแรนดาบอกว่า รังนี้น่าจะมีลูกนก

การจะเริ่มงานวิจัยได้นั้น มิแรนตาต้องหารังให้พบหลังจากบุกป่าฝ่าดงเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ในที่สุดเขาก็พบรังรังหนึ่ง เขานึกดีใจและคาดว่า ด้วยอัตรานี้ในแต่ละเดือนเขาน่าจะหารังพบสองสามรัง สามเดือนและ 400 กิโลเมตรต่อมา มิแรนดาไม่พบรังเพิ่มอีกเลยต้องการความช่วยเหลือ จึงเริมปิดประกาศเสนอเงินรางวัล 100 ดอลลาร์สหรัฐแกใครก็ตามที่พบรัง การค้นหานำเขาไปหาคนเก็บผลบราซิลนัตซึ่งท่องไปทั่วผืนป่าเพื่อค้นหาและเก็บผลนัดที่ร่วงลงสู่พื้นป่า

“ผมนึกขึ้นมาได้ว่ามีคนสำรวจป่าให้ฟรี ๆ อยู่ตลอดเวลาแล้ว” มิแรนดาเล่า เขาจึงเริ่มติดต่อสมาคมผู้เก็บผลบราชิลนัตหลายแห่ง”ฉันจำได้ว่าได้ยินเรื่องคนเพี้ยนที่ตามหานกอินทรีฮาร์ปีในป่าอเมซอนคนนี้” เวริเดียนา วีเอรา ประธานสมาคมผู้เก็บผลบราชิลนัตแห่งชุมชนกรีนแวลลีย์ เท้าความหลังก่อนได้พบกับมิแรนดา เธอคิดว่านกอินทรีฮาร์ปีเป็นตัวฆ่าไก่ แม้จะไม่เคยเห็นเองเลยสักตัว เธอชอบแนวคิดเรื่องการสนับสนุนวิทยาศาสตร์มาก จึงเสนอชื่อสมาคมให้เข้าร่วมโครงการ มิแรนดาสอนวิธีเปิดเสียงนกอินทรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *