บางครั้งภาพถ่ายที่ดีที่สุดไม่ใช่ภาพที่เราวางแผนไว้ย้อนกลับไปเมื่อปี 2003 ผมเป็นนักชีววิทยาทางทะเลซึ่งศึกษา ป๋าสาหร่ายเคลป์เพื่อทำวิจัยระดับปริญญาเอก แต่จริงๆ แล้ว ผมกำลังอยากเป็นช่างภาพอย่างหัวปักหัวปำ ผมเชื่อว่าผมสามารถสร้างความแตกต่างด้านการอนุรักษ์ ด้วยภาพถ่ายได้มากกว่าด้วยการวิจัย ดังนั้นแทนที่จะตรวจ แก้วิทยานิพนธ์ ผมเริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการถ่ายภาพผมเก็บภาพฉลามขาวมากขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งเป็นความหลงใหล ใหม่แกะกล่องที่ได้แรงกระตุ้นจากมิตรภาพระหว่างผมกับไมเคิล โชลล์ นักชีวิต วิทยาจากกองทุนฉลามขาว (White Shark Trust) วันหนึ่งในฤดูร้อน ไมเคิลแจ้งผมว่าพบฉลามชาวจำนวนมากใกล้ปลายสุดทางใต้ของแอพริกาใต้ นั่นคือฉลามขาว มากกว่าสิบตัวที่ว่ายป้วนเปี้ยนอยู่ในน้ำลึกไม่ถึงสองเมตร นอก ชายหาดยาว 1.6 กิโลเมตร พวกมันชุ่มอยู่หลังคลื่นหัวแตก ห่างจากฝั่งแค่ระยะโยนหินถึง ผมใช้เวลาไม่นานในการวางแผน และเก็บอุปกรณ์ใส่กระเป๋าเพื่อไปสมทบกับเขาที่นั่น เพื่อศึกษาว่าพวกฉลามกำลังทำอะไร ก่อนอื่นเราต้องเฝ้าสังเกตพวกมันจากเรือวิจัยของไมเคิล แต่นั่นกลายเป็นเรื่องยาก เพราะฉลามมีปฏิกิริยาตอบสนองรุนแรงต่อเสียงรบกวนของเรือ และเป็นไปในทางตรงข้ามกันอย่างน่าแปลก พวกมันบางตัวพยายามกัดเครื่องยนต์ ขณะที่ตัวอื่นๆ เผ่นหนีเสียงนั้น

เราไม่มีงบสำหรับการบินสำรวจทางอากาศ และยังไม่มีการประดิษฐ์โดรนถ่ายภาพขนาดเล็ก ดูเหมือนงานวิจัย ของเราจะพบกับอุปสรรค กระทั่งผมเสนอวิธีติดตามฉลาม ที่ราคาถูกกว่าและยุ่งยากน้อยกว่า นั่นคือเรือคายักเนื่องจากเป็นความคิดอันเฉียบแหลมของผม ผมจึงต้องไปเป็นคนแรก หลังติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสบนเรือคายักผมก็ไถลตัวเข้าไปในเรือและเริ่มพายออกไป ภายในไม่กี่นาทีผมก็อยู่ท่ามกลางฝูงฉลาม การเผชิญหน้ากันครั้งแรกนั้นเขย่าขวัญสั่นประสาท ลองนึกภาพว่าสิ่งที่กั้นคุณจากหนึ่งในนักล่าอันตับสูงสุดของมหาสมุทร คือพลาสติกหนาไม่ถึงหนึ่งนิ้วและพลาสติกนั้นมีสีเหลืองสดใส ซึ่งเป็นสีที่ตึงดูดฉลามบางตัวอย่างมาก โชคดีที่ฉลามไม่เคยแสดงความก้าวร้าวต่อเรือของผมที่ลอยเรี่ยใกล้ผิวน้ำ

ผมสามารถตามพวกมันในระยะใกล้ และเฝ้าสังเทตพฤติกรรมตามธรรมชาติของพวกมันความเป็นช่างภาพในตัวผมเริ่มทำงาน ผมมองเห็นภาพที่ผมอยากถ่าย นั่นคือฉลามตัวหนึ่งถูกติดตามโดยนักวิจัยในเรือคายัก แต่เอาเข้าจริง การถ่ายภาพนี้กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก มีฉลามจำนวนมากอยู่รอบเรือคายัก แต่ลมที่พัดแรงทำให้พื้นผิวมหาสมุทรกระเพื่อม และเปลี่ยนโครงร่างปราดเปรียวของฉลามให้กลายเป็นภาพนามธรรมรูปทรงเรขาคณิตผมจึงต้องรอให้คลื่นลมสงบกว่านี้สองสามสัปดาห์ต่อมา สภาพแวดล้อมก็เป็นใจ

และผมก็พร้อมแล้ว ผมผูกตัวเองกับดาดฟ้าลอยของเรือไมเคิล และถ่ายภาพนักวิจัยตามรอยฉลาม ผมเหลืออีกไม่กี่เฟรมในฟิล์มม้วนนั้น ตอนที่ฉลามใจกล้าตัวหนึ่งว่ายเข้าไปใกล้ ท้ายเรือคายักและลอยตัวขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์ในเรือดายัก หันมามองตอนที่ครีบหลังของมันโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำพอดี แทนที่นักวิทยาศาสตร์จะตามรอยฉลาม ฉลามกลับกำลังตาม รอยนักวิทยาศาสตร์ ผมกตชัตเตอร์ ภาพถ่ายนี้ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้คนในวิถีทางที่ผมไม่เคยคาดหวัง เว็บไชค์ของผมมีผู้เข้าชม 100,000 คน ใน 24 ชั่วโมงแรก(ในปี 2003 ก่อนการเพื่องฟูของโซเชียลมีเดีย นี่น่าจะนับว่าเป็นไวรัล)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *