เมื่อหนึ่งปีก่อน ชายผิวดำชื่อ จอร์จ ฟลอยด์ขาดใจตายใต้เข่าของตำรวจผิวขาวในมินนีแอโพลิส ความตายของฟลอยด์จุดกระแสให้เกิดการประท้วงต่อต้านการแบ่งแยกและอคติทางเชื้อซาติไปทั่วโลก ขณะที่การชำระสะสางปัญหาการเหยียดเชื้อชาติอันเจ็บปวดในสหรัฐฯ ยังดำเนินต่อไปย้อนหลังไปร้อยปีก่อน ม็อบคนผิวขาวบุกทำลายกรีนวูด ย่านคนผิวดำอันมั่งคั่งในเมืองทัลซา รัฐโอคลาโฮมา การปล้นสะดมวางเพลิง และเข่นฆ่าสังหาร ที่เกิดขึ้นตลอดสองวัน คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 300 คนและอีกราว 10,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
เหตุการณ์ครั้งนั้นคือการก่อการร้ายครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

และฉันรู้สึกละอายใจที่ยอมรับว่า ไม่เคยได้ยินเรื่องราวเหล่านี้กระทั่งไม่นานมานี้ในหลายแง่มุม ระยะห่างระหว่างปี1921 และปี 2021 นั้นนับว่ากว้างมากประเทศเราเปลี่ยนไปมาก และนั่นก็รวมถึงความก้าวหน้าในการสร้างความเสมอภาคและโอกาสให้ทุกคน กระนั้น ในบางแง่มุมและสถานที่ เสียงสะท้อนของการแบ่งแยกกีดกันและความรังเกียจเดียดฉันท์ในอดีตยังคงดังแว่วอยู่เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก บันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวการเดินทางของมนุษย์มาตั้งแต่แรกก่อตั้งเมื่อปี 1888 แต่กระทั่งไม่กี่ปีผ่านมานี้เองที่เราพุ่งความสนใจให้
กับประเด็นว่าด้วยเชื้อชาติ เดือนนี้ก็เช่นกันที่เรานำเสนอเรื่องราวจากซอกหลืบประวัติศาสตร์อันดำมืดเกี่ยวกับความรุนแรงทางเชื้อชาติในประเทศนี้ เพื่อรำลึกถึงสองเหตุการณ์ข้างต้น ที่ห่างกันหนึ่งร้อยปี

แม้การทำลายล้างจะกินวงกว้างและหนักหนาสาหัส ทว่าโศกนาฎกรรมในทัลซากลับถูกบดบังจนรางเลือน ไม่ต่างจากหลุมศพไร้เครื่องหมายบ่งบอกใด ๆ ของเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย แต่แล้วเมื่อปี 2018 ดีนี่น แอล. บราวน์ ผู้สื่อข่าว วอชิงตันโพสต์ก็เขียนถึงการสืบสวนเหตุการณ์ที่มักเจอกับอุปสรรคจนสะดุดหยุดลง และการขุดคุ้ยตีแผ่เรื่องนี้ของเธอก็มีส่วนช่วยในการรื้อฟื้นการสืบสวนขึ้นใหม่ ด้วยสารคดีกระทบใจของบราวน์ในเล่มนี้ เราหวังจะกลับไปทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในทัลซา และบทเรียนที่ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ถ้าพูดถึงคำว่า “เชื้อชาติ” หรือ raceในภาษาอังกฤษ คุณผู้อ่านจะนึกถึงอะไร ผมคงตอบแทนไม่ได้ แต่ถ้ามีใครถามคำถามนี้กับผม ผมคงต้องใช้เวลาคิดนานพอสมควรส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผมไม่เคยได้รับผลกระทบใด ๆ จากสิ่งที่เรียกว่าเชื้อชาติ ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งของการ แบ่งแยก เรา-เขา หรือ พวกเรา-พวกเขา ในแง่หนึ่ง สังคมไทยอาจจะโชคดีที่เราไม่ประสบปัญหาการเหยียดสีผิวหรือเชื้อชาติ (racism)มากเมื่อเทียบกับชาติตะวันตก

ผมเคยคิดอย่างนั้นมาตลอด จนกระทั่งเกิดการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ทำให้ต้องคิดทบทวนความเชื่อของตัวเอง(แต่เราอาจมีปัญหาการแบ่งแยกในเรื่องอื่น ๆ ที่หนักหนาสาหัสพอกัน โดยเฉพาะทัศนคติหรือความเชื่อทางการเมือง)ย่างกรณีการแพร่ระบาดระลอกที่สองที่ว่ากันว่ามาจากแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นข่าวน่าเศร้าที่คนไทยในสหรัฐฯ ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตโดยสาเหตุอาจมาจากกระแสต่อต้านชาวเอเชียในสังคมอเมริกัน หรือจริงๆ แล้วแนวคิดของการแบ่งแยกชื้อชาติไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย หากแฝงตัวอยู่กับเราอย่างเงียบ ๆ จนกว่าจะมีอะไรสะกิดให้เผยตัวออกมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *