ความก้าวหน้าของโลกที่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา นั้นมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก หลังจากที่เราพูดถึงทศวรรษ1970-1989 ไปแล้วใน Part 1 และ Part 2 ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงทษวรรษนั้น ครั้งนี้เราจะให้ดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ทษวรรษ 1990-1999 จะเกิดเหตุการณ์หรือเกิดอะไรขึ้นบ้างสามารถดูข้อมูลต่อจากนี้ได้เลย ประชากรของโลกในทษวรรษ 1990 5.3 พันล้านคน

ทษวรรษ 1990 ห้ามค้างาช้างในระดับนานาชาติ และต่อสู้ฝนกรด

การห้ามค้างาช้างช่วยชะลอการลักลอบล่าช้างแอฟริกาได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อถึงปี 2016 เคนยาเผางาช้างเพื่อยับยั้งการลักลอบล่าช้าง การห้ามค้างาช้างก็เหมือนกับการอนุรักษ์ช้างในแอฟริกา ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและช้างจะได้ไม่สูญพันธ์ไปจากโลกด้วย

การแปรญัตติ รัฐบัญญัติอากาศสะอาดของสหรัฐฯ ช่วยลดฝนกรดและการทำลายโอโซนบังคับการใช้น้ำมันที่สะอาดขึ้น และตั้งเป้าหมายในการลดมลพิษทางอากาศ เพื่อที่ประชากรบนโลกจะได้หายใจได้เต็มที่ ไม่มีมลพิษเข้าร่างกายและปลอดภัยต่อสุขภาพ

ทษวรรษ 1991 คืนเฟอร์เรตสู่ธรรมชาติ และเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อน้ำมันในคูเวต

นักวิทยาศาสตร์ของกรมประมงและสัตว์ป่าสหรัฐฯ ปล่อยเฟอร์เรตตีนดำ ซึ่งเคยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติคืนสู่พื้นที่แถบตะวันตกของสหรัฐฯ แต่พวกมันยังคงใกล้สูญพันธุ์อยู่ดี

ไฟไหม้บ่อน้ำมันคูเวต เมื่อสงครามอ่าวเปอร์เซียใกล้สิ้นสุด อิรักเผาบ่อน้ำมันในคูเวตกว่า 600 แห่ง น้ำมันประมาณ 1,500 ล้านบาร์เรลถูกเผาหรือรั่วไหล ถือว่าเป็นการเสียหายทรัพยากรครั้งใหญ่ของโลกเลยก็ว่าได้

ทษวรรษ 1995 การสูญเสียป่าอเมซอน อินทรีหัวขาวฟื้นตัว

อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มสูงมาก ส่วนใหญ่เพื่อใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ทำให้ต้นไม้ลดลงเป็นจำนวนมากและก่อให้เกิดเหตุภัยพิบัติทางธรมชาติ

อินทรีหัวขาวฟื้นตัว นกประจำชาติของสหรัฐฯ ได้รับการจัดสถานภาพใหม่จาก ใกล้สูญพันธุ์ เป็นเพียง ถูกคุกคาม ต่อมาถูกถอดจากบัญชีอย่างสมบูรณ์

ทษวรรษ 1997 หายนะของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก พิธสารเกียวโต

เชื้อราไคทริดที่กันผิวหนังฆ่ากบและซาลาแมนเดอร์ไปนับร้อยชนิด ทำให้ระบบนิเวศของยุคนั้นเสียหายเยอะมาก สัตว์หลายชนิดก็ได้ตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน

พิธสารเกียวโต มีเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 37 ประเทศและประชาคมยุโรปสัญญาจะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ทษวรรษ 1999 ข้าวสีทอง

ข้าวถูกดัดแปรพันธุกรรมให้สร้างวิตามินเอเพื่อเพิ่มสารที่มีประโยชน์แก่อาหารของชาวแอฟริกันและเอเชียเพราะว่าข้าวยุคนั้น ขาดสารอาหารจนเกินไป จึงต้องมีข้าวสีทองเกิดขึ้นมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *