หลังจากที่เราได้พูดความก้าวหน้าของโลกในช่วง50ปีที่ผ่าน Partที่ 1 เราพูดตั้งแต่ทศวรรษ1970-1979 มาแล้วและในPartที่2เราจะมาพูดถึงความก้าวหน้าของโลกในช่วง50ปีที่ผ่านมาอีกครั้ง และPartนี้จะมีอะไรน่าสนใจกันบ้างรบกวนดูสิ่งที่เรากำลังจะเสนอต่อไปนี้คือ ทศวรรษที่1980-1989 จำนวนประชากรโลกในปี 1980 4.5 พันล้านคน

ทศวรรษ1980 พื้นที่ธรรมชาติในอะแลสกาได้รับความคุ้มครองและเริ่มโครงการกองทุนสิ่งแวดล้อม

รัฐบัญญัติการอนุรักษ์ที่ดินแห่งชาติของรัฐอะแลสกากันพื้นที่ธรรมชาติเป็นอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสิ่งนี้จะต้องรักษาไว้เพื่อที่คนรุ่นหลังจะได้มีธรรมชาติที่สวยงามได้ดูกัน ส่วนเรื่องกองทุน กองทุนนี้จะช่วยให้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวล้อมของสหรัฐฯ สามารถทำความสะอาดแหล่งขยะพิษ ผู้ก่อมลพิษต้องทำความสะอาดเองหรือจ่ายค่าดำเนินการ ที่มีการตั้งโครงการกองทุนนี้ก็เพราะว่าจะได้มีคนรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น

ทศวรรษ1985 ค้นพบรูรั่วโอโซน

นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบว่าชั้นโอนโซนที่ป้องกันโลกเหนือทวีปแอนตาร์กติกลดประมาณลงอย่างรุนแรง (บริเวณสีแดง) จำเลยคือคลอโรฟลูออโรคาร์บอนและสารเคมีอื่นๆ การพบรูรั่วโอนโซนนี้ถือว่าทำให้โลกเกิดปัญหาพอสมควรในยุคนั้นทำให้พื้นผิวของโลกมีสารพิษมากขึ้น

ทศวรรษ1986 อุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชียร์โนบิล

เตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าเชียร์โนบิลในสหภาพโซเวียตระเบิด แรงระเบิดและการแผ่รังสีคร่าชีวิตเจ้าหน้าที่ 30 คน และต้องอพยพประชาชนในรัศมีเกือบ 2,800 ตารางกิโลเมตร การที่เตาปฎิกรณ์ระเบิดทำให้เกิดปัญหากับโลกมากพอสมควร ประชากรหลายล้านคนเสียหายกันถ้วนหน้า

ทศวรรษ1987 พิธีสารมอนทรีออลและอนุรักษ์แร้งคอนดอร์

เพียงไม่กี่ปีหลังการค้นพบรูรั่วโอโซน เหล่าผู้นำโลกเห็นพ้องกันเรื่องการดการใช้สารที่ทำลายโอโซน ทุกชาติให้สัตยาบันในสนธิสัญญาฉบับนี้ ในทศวรรษ1987 แร้งคอนดอร์แคลิฟอร์เนีย 27 ตัวสุดท้ายถูกนำไปขยายพันธุ์ในสถานเพาะเลี้ยง การฟื้นตัวที่ใช้เวลานานเริ่มต้นขึ้น ปัจจุบันมีแร้งกว่า 200 ตัวอาศัยอยู่ในธรรมชาติอีกครั้ง

ทศวรรษ1988และ1989 ตรวจพบปรากฎการณ์เรือนกระจกและเรือเอ็กวอนวัลเดซ

นักภูมิอากาศวิทยาขององค์การนาซ่า เจมส์ แฮนเซฯ ชี้แจงต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ว่าคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆที่กักเก็บความร้อน ซึ่งเกิดจากการเผาพลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้นและในทศวรรษ1989 เรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ลำนี้ทำน้ำมันดิบ 42 ล้านลิตรรั่วไหลลงสู่อ่าวพรินซ์วิลเลียมซาวนด์รัฐอะแลสกา ทำให้ในทะเลเต็มไปด้วยน้ำมันต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเก็บน้ำมันที่รั่วลงสู่ทะเลคืนจนหมด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *